Sunday, July 07, 2013

 

Shopping@Greenhill, Manila

กำหนดการของวันนี้จริงๆ ต้องไปร่วม Sport Fest ของภาค IE แต่นัทสิมาหาสนามกีฬาไม่เจอ แม้จะพยายามเดินหาหลายรอบแล้วก็ตาม

สรุปคือแห้วครับ ได้แต่เดินถือกล้องถ่ายรูปไปถ่ายตามที่ต่างๆ ในมหาวิทยาลัย แล้วตอนบ่ายก็ไป Shopping ที่ Greenhill Shopping mall

นัทสิมาไม่ได้อะไรจากการ shopping มากไปกว่าหนังสือและ CD (ตามระเบียบ)

Textbook ที่นี่ถูกกว่าในไทยเป็นบางรายการ เนื่องจากมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ใช้ Textbook เรียนกัน 100% สำนักพิมพ์จึงยอมผลิตเวอร์ชั่น Low Price Edition ออกมาขาย สนนราคาจะถูกกว่า International Student Edition ที่บ้านเราใช้ประมาณ 20-30%

นัทสิมาแวะร้านหนังสือสองร้าน

ร้านแรกเหมือนเป็นหนังสือมือสองแต่สภาพยังดีอยู่มาก นัทสิมาได้หนังสือ Kaizen ของ Masaaki Imai มาหนึ่งเล่ม สนนราคา 130 peso

ร้านที่สองเป็น chainstore ชื่อ Goodwill Bookstore มีตำราเรียนขายเยอะแยะ ที่นี่นัทสิมาได้ The Management of Human Resources in the Asia Pacific Region และ Practical Guide to Thesis and Dissertation Writing มาอีกหนึ่งเล่ม สนนราคารวม 310  peso

นอกจากนี้นัทสิมายังได้ CD จากร้าน AstroVision มาหนึ่งแพ็คเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบภาพยนตร์และละครโดย Erik Santos ราคา 250 peso

เรื่อง amazing คือ ร้านขาย CD เค้าไม่เปิดเพลงนะครับ แต่ใช้วิธีเปิด karaoke แล้วพนักงานมายืนร้องแทน แต่เนื่องจากฟิลิปปินส์เป็นมหาอำนาจด้านการร้องเพลงอยู่แล้ว จึงทำให้แม้แต่คนขาย CD ก็สามารถร้องเพลงได้เพราะมากๆ

อีกเรื่องคือ มาริโอ เมาเร่อดังมากที่นี่ หนังไทยทุกเรื่องที่มาริโอเล่นมีขายที่ร้านนี้หมด!

จบการรายงานการ Shopping แต่เพียงเท่านี้

Labels: , , , , ,


Friday, July 05, 2013

 

ทัวร์เมืองมะนิลา

ตามโปรแกรมแล้ววันนี้มี City Tour จ้ะ

จริงๆ แล้วมะนิลาไม่ใหญ่นะ แต่เนื่องจากการจราจรติดขัดอย่างแรง จึงทำให้การทัวร์ในเมืองในเวลาที่จำกัดเพียงหนึ่งวันนั้นไปได้แค่ไม่กี่ที่

ขออธิบายโดยสังเขปพร้อมภาพประกอบดังนี้

1. CCP: Cultural Center of the Philippines 


เป็นหอศิลป์ของฟิิลิปปินส์นั่นเองครับ งานที่จัดแสดงมีทั้ง permanent และ temporary ในส่วนของ permanent ก็เช่นเครื่องดนตรีของแต่ละท้องถิ่น วัฒนธรรมเกี่ยวกับการเกิดและการตาย ฯลฯ โดยภาพด้านล่างนี้แสดงถึงที่เก็บกระดูกของคนฟิลิปปินส์ในที่ต่างๆ กัน ในยุคต่างๆ กัน

จะว่าไปจริงๆ แล้วคนฟิลิปปินส์มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมค่อนข้างมากอันเนื่องมาจากความเป็นหมู่เกาะที่กระัจัดกระจายกันไป ดังนั้นถ้าพูดถึงวัฒนธรรมก็คงต่างกันมากนั่นแหละ




รูปขวดที่เห็นเรียงรายกันดังแสดงในรูปที่หนึ่งนั้น เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับการส่งข้อความถึงคนที่เรารักซึ่งได้จากเราไป โดยผู้เข้าชมนิทรรศการสามารถเขียนข้อความแล้วนำไปใส่ไว้ในขวดที่เตรียมไว้ และศิลปินก็จะนำกระดาษเหล่านั้นมาจัดแสดงในห้องนิทรรศการ



2.Rizal Park 




เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีอนุสาวรีย์ของ ดร.โฮเซ่ ริซัล ผู้จุดประกายให้เกิดการปฏิวัติเพื่อปลดแอกฟิลิปปินส์จากการเป็นอาณานิคมของสเปน จะว่าไปตรงข้ามกับสวนสาธารณะริซัลมีหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ตั้งอยู่ ทำให้นึกถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของบ้านเราที่เป็นจุดเริ่มนับระยะทางจากกรุงเทพไปยังจังหวัดในภาคเหนือตามเส้นทางถนนพหลโยธิน

3. Intamuros / Fort Santiago

เป็นป้อมเก่าแก่ของเมืองมะนิลาตั้งแต่สมัยเป็นเมืองขึ้นของสเปน ป้อมซานติเอโกนี้เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองที่ชื่อว่าอินทามูโรสซึ่งแปลว่า "ในกำแพง"






แต่เอาจริงแล้วความสำคัญของ Fort Santiago และ Intramuros ไม่ได้เป็นแค่เพียงกำแพงหินโบราณอายุหลายร้อยปี แต่เป็นเพราะที่นี่เป็นที่คุมขัง ดร.โฮเซ่ ริซัล ก่อนที่ท่านจะถูกนำไปประหารชีวิตในข้อหาปลุกระดมมวลชนให้ต่อต้านการปกครองของสเปน




"I die without seeing the dawn brighten over my native land!
You, who have it to see, welcome it--and forget not those who have fallen during the night!"
ข้าพเจ้าตายไป โดยมิได้เห็นอรุณรุ่งแห่งมาตุภูมิ
ขอท่านผู้ได้เห็น จงยินดีกับเวลานั้น และอย่าได้ลืมผู้จากไปในรัตติกาล
4. San Agustin Church

เป็น a place don't miss อีกแห่งหนึ่งของมะนิลา (อ้างอิงจาก Rough Guide to Philippines) เป็นโบสถ์โบราณที่มีสถาปัตยกรรมแบบบาโรคและเป็นหนึ่งในสี่ของโบสถ์คาทอลิคที่สร้างในยุคอาณานิคมสเปน สิ่งสำคัญของโบสถ์นี้คือมันเป็นมรดกโลกจ้ะ (แต่จะว่าไปทำไมไม่เห็นตราประท้บมรดกโลกเหมือนที่ญี่ปุนมีเนอะ?)






ก็จบ City Tour ด้วยประการฉะนี้! 
(เหนื่อยแฮะ)

Labels: , , , , , , ,


Thursday, July 04, 2013

 

ความสนุกสนานในห้องเรียนฟิลิปปินส์


โอเค

หายไปสองสามวัน เนื่องจากปรับตัวปรับใจกับสถานที่และภารกิจที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์

อันที่จริงตอนเริ่มต้นนัทสิมามี topics ในใจเรียบร้อยแล้วว่าจะมาสอนอะไร มาทำวิจัยด้วยอะไร จริงๆ คืออยากทำ Collaborative Research เป็นหลัก (เรื่องสอนไม่ค่อยมั่นใจว่าจะสอนเด็กเค้ารู้เรื่อง)

ปรากฏว่าอาจารย์ที่นี่เป็นอาจารย์เน้นสอน คนนึงสอนประมาณ 18 คาบต่อสัปดาห์อีกทั้งยังมีภาระอื่นๆ อีก ดูค่อนข้างวุ่นวายตลอดเวลา วิจงวิัจัยไม่ค่อยได้ทำ หัวข้อที่เราเสนอไปก็ไม่ถูกใจเค้า (จริงๆ ก็ไม่ค่อยถูกใจเราหรอก แต่พยายามหาเรื่องที่น่าจะสามารถทำได้ในเวลาจำกัด)

ทีนี้พอ Demand ไม่ค่อยตรงกับ Supply เราก็เลยถูกโยนไปมาระหว่าง IE Department กับ Office of Quality Management ซึ่งรับผิดชอบงานด้าน ISO9001 ของมหาวิทยาลัย

วันแรกก็เลยไ่ม่ค่อยมีอะไรทำ อาจารย์สองท่าน (ที่ประจำอยู่ที่ OPQM) เห็นว่าเราันั่งว่างๆ ยังเอา term paper ของเด็กมาให้เราช่วยตรวจ

อืมม นะ นัทสิมาไม่ชอบตรวจการบ้านเป็นชีวิตจิตใจซะด้วยสิ

วันแรกก็เลยเซ็งๆ ไปหน่อยนึง

วันที่สองเริ่มดีขึ้นเพราะมีอาจารย์อีกท่านนึง (ชื่อ Charles) กลับมาจากพักร้อน นัทสิมาเลย hard sale งานวิจัยเต็มที่ ตัดสินใจเปลี่ยน topic ไปทำเรื่อง relationship between cultural, safety attitude and productivity แทน ซึ่งดูแล้วเหมาะกับอาจารย์ท่านนี้ เนื่องจากท่านเพิ่งลาออกจากการเป็น Factory Manager ของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งหนึ่งมา

พูดถึงเรื่องนี้ก็นึกขึ้นได้ว่า่ส่วนมากอาจารย์ที่นี่เน้น "เก๋า"

แต่ละคนมีประสบการณ์ในสายงานที่ตนเองรับผิดชอบมาไม่น้อยกว่า 5-10 ปี

บางคนเคยอยู่ Intel Philippines มามากกว่า 20 ปี บางคนก็ทำงาน Texas Instruments ฯลฯ

เอาเป็นว่าไม่มีใครเรียนจบตรี-โทแล้วมาเป็นอาจารย์เลยสักคน

เด็ดสุดก็ Engr.Charles นี่แหละ (ที่นี่เค้าให้เกียรติวิศวกร โดยเรียกคำนำหน้านามว่า "วิศวกร...." ตลอด) เป็นอาจารย์มา 14 ปี แล้วลาออกเพื่อไปทำงานใน real industry เพราะอยาก update องค์ความรู้ของตนเอง ก่อนจะกลับมาสอนอีกครั้ง

โอเค กลับมาเรื่องของเราต่อ นัทสิมาก็โน้มน้าวสารพัดจน Engr. Charles ยอมตกปากรับคำว่าจะเป็น co-researcher ให้ แต่การทำวิจัยในโรงงานจริงๆ ของที่นี่ยากมาก ต้องทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ผ่านขั้นตอนมากมาย แต่เค้าก็รับปากว่าจะพยายามเริ่มต้นไว้ให้ได้ในระดับหนึ่ง แต่อาจจะไม่เสร็จในระหว่างที่นัทสิมาอยู่

It's Acceptable!

ว่าแล้วนัทสิมาก็ list งานเขียนที่น่าจะเกิดขึ้นที่ีนี่ได้ออกมาประมาณ 7 เรื่อง โปรดเข้าใจว่า It' just a plan ซึ่งอาจจะเสร็จหรือไม่เสร็จ แต่อย่างน้อยมี milestone ไว้ก็ไม่เสียหาย

ตัดภาพกลับมาว่าด้วยเรื่องห้องเรียนอันแสนสนุกสนานในฟิลิปปินส์กันต่อ นัทสิมาได้มีโอกาสเข้าสอนใน 1 ห้องเรียนของนักศึกษาปี 5 สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (สอน Lean Simulation Workshop)  และบรรยายพิเศษอีกหนึ่งครั้งสำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

บรรยากาศต่างกัน แต่โดยรวมแล้วนักศึกษาฟิลิปปินส์ active กว่านักศึกษาไทย และที่สำคัญกล้่าแสดงออกมากกว่าด้วย

หลังการบรรยายพิเศษสำหรับนักศึกษา IT ซึ่งนัทสิมาบรรยายเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวฺุฒิของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยนิดนึง แล้วตามด้วยงานวิจัยด้าน algorithm design for logistics optimization อีกสองงาน เนื่องจากนักศึกษาที่เข้าฟังส่วนมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เด็กๆ จึงไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหา

ไม่สิ ต้องบอกว่าไม่เข้าใจเลยมากกว่า

พอจบการบรรยาย ก็เลยมีตัวแทนนักศึกษาคนนึงขึ้นมากล่าวประมาณว่าพวกเค้าไม่ได้อะไรจากการฟังบรรยายพิเศษครั้งนี้เลย อาจารย์ควรจะไปบรรยายให้กันเองฟังมากกว่ามาอธิบายอะไรก็ไม่รู้ให้พวกผมฟัง!!

นัทสิมาอึ้ง...แต่อาจารย์เค้าไม่อึ้งแฮะ (ท่าทางเจอบ่อย)

ก็พยายามบอกเด็กๆ ไปว่าวันนี้คุณอาจไม่รู้เรื่องหรอก แต่วันนึงมันอาจเป็นประโยชน์ต่อคุณ โดยเฉพาะเมื่อคุณเรียนในระดับสูงๆ ขึ้นไป

นอกจากเป็นผู้บรรยายแล้ว นัทสิมาก็มีโอกาสไป sit in ในคลาสวิชา Engineering Management และวิชา Industrial Quality Control ซึ่งสนุกสนานมากทั้งสองคลาส เนื่องจากอาจารย์เค้าสอนเก่งกันทุกคน (บอกแล้วไงว่าที่นี่เน้นสอน)

สิ่งที่พบจากทั้งสองคลาสคือเด็กๆ ที่นี่จะถูกคาดหวังให้ "อ่านมาก่อนเข้าเรียน" ถ้าไม่อ่านมาก็จะถูกถามว่า "ไม่อ่านมาใช่ไหม?" ตลอดเวลา

และเนื่องจากอาจารย์มีประสบการณ์นอกห้องเรียน ก็เลยจะมี tips เล็กๆ้น้อยๆ จากประสบการณ์จริงมาสอดแทรกเป็นระยะ

กล่าวโดยสรุปคือ ทั้งการเป็นผู้บรรยายและเป็นผู้รับฟังการบรรยายล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง

จบการรายงานแต่เพียงเท่านี้!


Labels: , , , ,


Monday, July 01, 2013

 

โอ้ชีวิต Visiting Scholar (ตอน 1)

เนื่องด้วยกระแส AEC มาแรงเหลือเกิน มหาวิทยาลัยที่นัทสิมาสังกัดอยู่จึงได้ริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์เพื่อให้ไปสอนที่มหาวิทยาลัยเครือข่ายในกลุ่มประเทศอาเซียน

และด้วยเหตุผลร้อยแปดพันประการ

นัทสิมาจึงได้รับคัดเลืิอกให้เป็นตัวแทนคณะให้ไปแลกเปลี่ยน ณ University of Santo Tomas ประเทศฟิลิปปินส์

Wikipedia - สารานุกรมเสรีได้อธิบายคำว่า Visiting Scholar ไว้ดังนี้


In the world of academia, a visiting scholar or visiting academic is a scholar from an institution who visits a host university, where he or she is projected to teach (visiting professor), lecture (visiting lecturer), or perform research (visiting researcher or visiting research associate) on a topic the visitor is valued for. The position is often not salaried and typically for one year,though it can be extended.
อธิบายความโดยรวมๆ ได้ว่าในแวดวงวิชาการนั้น "อาจารย์แลกเปลี่ยน" หรือ "นักวิชาการแลกเปลี่ยน" คืออาจารย์หรือนักวิชาการจากต่างสถาบันที่มาอยู่ในสถาบันที่ร้บแลกเปลี่ยน (เรียกว่า "โฮสต์") ซึ่งโดยมากก็จะมาสอนหรือไม่ก็มาบรรยาย หรือบางทีก็มาทำวิจัยร่วมในหัวข้อที่ตนเองมีความชำนาญ

วิกิฯ ห้อยท้ายว่าโดยปกติแล้วตำแหน่งนี้ไม่มีเงินเดือนย่ะ และเ้ค้าอยู่กันประมาณหนึ่งปีขึ้นไป ย้ำ! ขึ้นไป

หึ หึ ไม่รู้แหละ มา 15 วันก็จะเรียกตัวเองว่าเป็น Visiting Scholar ล่ะเว้ยเฮ้ย

---------------------------------------------------------------------------------

อย่างไรก็ตาม นัทสิมาและคณาจารย์จากคณะต่างๆ รวม 6 ชีวิตก็ได้มาใช้ชีวิตอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ีที่สุดแห่งในหนึ่งของโลก (เพิ่งฉลองครบรอบ 400 ปีไปเมือปี 2011 นี่เอง) ท่ามกลางบรรยากาศของเมืองมหาวิทยาลัยที่คึกคักและมีพลวัตสูงจนสัมผัสได้

สูดลมหายใจเข้าลึกๆ 

นับจากนี้ไปอีก 15 วัน มาติดตามการรายงานสดจากขอบสนามถึงชีวิตความเป็นอยู่ของอาจารย์แลกเปลี่ยนตัวเล็กๆ (?) คนหนึ่ง ว่าจะสุขหรือจะทุกข์ จะเหงาหรือจะเริงร่า จะเอ๋อหรือจะเจิดจรัส

อย่ารอคอย 

แต่จงติดตามด้วยใจระึทึก!

Labels: , , ,


This page is powered by Blogger. Isn't yours?