Tuesday, March 14, 2006

 

เรื่องเรื่อยเปื่อยของนัทสิมา

อ่าน Blog ของคุณ epsie แล้วละอายใจ
ยิ่งมาเปิด Blog ของตัวเองแล้วอ่านที่คอลัมน์ด้านขวา
" I will change the world"

แล้วพาลให้อดสูในความเรื่อยเปื่อยของตัวเองจริงๆ
ว่าแล้วก็เลยเขียนเรื่องเรื่อยเปื่อยของนัทสิมาดีกว่า
ปล. ขออภัยที่ต้องขัดจังหวะแควนๆ ที่ติดตามเรื่อง HR อยู่อย่างระทึก(ว่ามันจะมีวันจบมั้ย?)
....................................................................................
เรื่องเรื่อยเปื่อยเรื่องแรกคือ ทำไมไม่ค่อย Up Blog ?
คืองี้..เหตุผล(ข้อแก้ตัว) อันดับต้นๆ ก็คือ ตั้งใจจะให้ Natsima's Blog มีเนื้อหาเป็นแบบ Pop Academic ล้วนๆ แขกไปใครมาจะได้ไม่เสียใจที่แวะมาเยี่ยมชม
ทีนี้.. Pop Academic เนี่ย แม้จะขึ้นชื่อว่า Pop แต่ก็เขียนยากอ่ะนะ เพราะต้องใช้ข้อมูลพอสมควร ยังไม่พอยังต้องมาเรียบเรียงให้ไม่ต้องปีนกะไดอ่านกันอีกต่างหาก
ข้อมูลต่างๆ เลยมากองอยู่ในขมองอิ่มๆ ของนัทสิมาซะจนประมวลผลไม่ออกเอาดื้อๆ

เรื่องเรื่อยเปื่อยเรื่องถัดมา เป็นเรื่องของผลประโยชน์
นัทสิมาไม่เข้าใจว่าทำไมคนเราต้องจ้องแต่จะหาประโยชน์ใส่ตัวกันมากมายขนาดนั้น
เอาเป็นว่าถ้ามี "ช่องว่าง" สักนิดหนึ่ง ชั้นก็จะใช้ช่องนั้นแหละหาผลประโยชน์
ด้วยอาชีพที่ต้องพบปะผู้คนมากมาย นัทสิมาเริ่มเห็นเค้าลางแห่งความเสื่อมถอยทางด้านจริยธรรมของผู้คนในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ

เรื่องแบบนี้ถ้าให้อินเทรนด์คงต้องโทษผู้นำประเทศ

แต่นัทสิมาว่า "ต้นแบบ" ก็เป็นแค่ต้นแบบนะ เราเลือกที่จะไม่ทำได้ด้วยหิริโอตัปปะที่มีติดตัวกันอยู่มิใช่หรือ? ถ้าเราเห็นใครโกง แล้วชั้นก็จะโกงด้วย เห็นการทำร้ายคนที่อ่อนแอกว่าชั้นก็จะทำด้วย เห็นคนฆ่ากันชั้นก็จะฆ่าด้วย

จริงๆ มันเป็นแบบนั้นหรือ?

เรื่องเรื่อยเปื่อยต่อไป ว่าด้วยเรื่อง Stat Mania (ย่อมาจาก Statistical Mania)
นัทสิมากำลังเป็นพวก Stat Mania เพราะช่วงนี้ต้องสอน Stat ค่อนข้างเยอะ
ส่วนมากเป็น Statsitical สำหรับ Management
หนังสือสถิติเลยกองเต็มหัวนอนไปหมด

Mckinsey & Company ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการได้สรุปผลการสำรวจ Trend ที่น่าสนใจในปี 2006 ออกมาประเด็นหนึ่งว่าด้วย CEO รุ่นใหม่

ในรายงานระบุว่าผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ มีแนวโน้มที่จะมีดีกรีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าจะเป็นสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิตและมหาบัณฑิต มีสองแบบคือ BBA ,MBA หรือ B.Sc, M.Sc (Management) นะครับ)

เหตุผลก็คือโลกในปัจจุบันใช้การตัดสินใจโดยอาศัย Fact & Figure มาก ความรู้ด้านสถิติจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะพักหลังๆ เครื่องมือด้านการบริหารที่ออกมาก็จะเป็นแนวนี้ เช่น Six Sigma , Statistical Process Control หรือแม้แต่ BSC หรือ Balance Scorecard ที่ผนวกกับ Strategy Mapping ก็ยังพ่วงวงจร PDCA ของ Dr. Edward Deming เข้าไปด้วย

อา..มิตรรักนักอ่านที่เคารพอ่านแล้วอาจจะงงงวยกับศัพท์แสงที่ไม่คุ้น ไว้ว่างๆ นัทสิมาจะมารับใช้ในแต่ละประเด็นนะขอรับ (สำนวนคุณนิติภูมิ)

จบเรื่องเรื่อยเปื่อยแต่เพียงเท่านี้

This page is powered by Blogger. Isn't yours?