Tuesday, March 14, 2006

 

เรื่องเรื่อยเปื่อยของนัทสิมา

อ่าน Blog ของคุณ epsie แล้วละอายใจ
ยิ่งมาเปิด Blog ของตัวเองแล้วอ่านที่คอลัมน์ด้านขวา
" I will change the world"

แล้วพาลให้อดสูในความเรื่อยเปื่อยของตัวเองจริงๆ
ว่าแล้วก็เลยเขียนเรื่องเรื่อยเปื่อยของนัทสิมาดีกว่า
ปล. ขออภัยที่ต้องขัดจังหวะแควนๆ ที่ติดตามเรื่อง HR อยู่อย่างระทึก(ว่ามันจะมีวันจบมั้ย?)
....................................................................................
เรื่องเรื่อยเปื่อยเรื่องแรกคือ ทำไมไม่ค่อย Up Blog ?
คืองี้..เหตุผล(ข้อแก้ตัว) อันดับต้นๆ ก็คือ ตั้งใจจะให้ Natsima's Blog มีเนื้อหาเป็นแบบ Pop Academic ล้วนๆ แขกไปใครมาจะได้ไม่เสียใจที่แวะมาเยี่ยมชม
ทีนี้.. Pop Academic เนี่ย แม้จะขึ้นชื่อว่า Pop แต่ก็เขียนยากอ่ะนะ เพราะต้องใช้ข้อมูลพอสมควร ยังไม่พอยังต้องมาเรียบเรียงให้ไม่ต้องปีนกะไดอ่านกันอีกต่างหาก
ข้อมูลต่างๆ เลยมากองอยู่ในขมองอิ่มๆ ของนัทสิมาซะจนประมวลผลไม่ออกเอาดื้อๆ

เรื่องเรื่อยเปื่อยเรื่องถัดมา เป็นเรื่องของผลประโยชน์
นัทสิมาไม่เข้าใจว่าทำไมคนเราต้องจ้องแต่จะหาประโยชน์ใส่ตัวกันมากมายขนาดนั้น
เอาเป็นว่าถ้ามี "ช่องว่าง" สักนิดหนึ่ง ชั้นก็จะใช้ช่องนั้นแหละหาผลประโยชน์
ด้วยอาชีพที่ต้องพบปะผู้คนมากมาย นัทสิมาเริ่มเห็นเค้าลางแห่งความเสื่อมถอยทางด้านจริยธรรมของผู้คนในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ

เรื่องแบบนี้ถ้าให้อินเทรนด์คงต้องโทษผู้นำประเทศ

แต่นัทสิมาว่า "ต้นแบบ" ก็เป็นแค่ต้นแบบนะ เราเลือกที่จะไม่ทำได้ด้วยหิริโอตัปปะที่มีติดตัวกันอยู่มิใช่หรือ? ถ้าเราเห็นใครโกง แล้วชั้นก็จะโกงด้วย เห็นการทำร้ายคนที่อ่อนแอกว่าชั้นก็จะทำด้วย เห็นคนฆ่ากันชั้นก็จะฆ่าด้วย

จริงๆ มันเป็นแบบนั้นหรือ?

เรื่องเรื่อยเปื่อยต่อไป ว่าด้วยเรื่อง Stat Mania (ย่อมาจาก Statistical Mania)
นัทสิมากำลังเป็นพวก Stat Mania เพราะช่วงนี้ต้องสอน Stat ค่อนข้างเยอะ
ส่วนมากเป็น Statsitical สำหรับ Management
หนังสือสถิติเลยกองเต็มหัวนอนไปหมด

Mckinsey & Company ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการได้สรุปผลการสำรวจ Trend ที่น่าสนใจในปี 2006 ออกมาประเด็นหนึ่งว่าด้วย CEO รุ่นใหม่

ในรายงานระบุว่าผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ มีแนวโน้มที่จะมีดีกรีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าจะเป็นสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิตและมหาบัณฑิต มีสองแบบคือ BBA ,MBA หรือ B.Sc, M.Sc (Management) นะครับ)

เหตุผลก็คือโลกในปัจจุบันใช้การตัดสินใจโดยอาศัย Fact & Figure มาก ความรู้ด้านสถิติจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะพักหลังๆ เครื่องมือด้านการบริหารที่ออกมาก็จะเป็นแนวนี้ เช่น Six Sigma , Statistical Process Control หรือแม้แต่ BSC หรือ Balance Scorecard ที่ผนวกกับ Strategy Mapping ก็ยังพ่วงวงจร PDCA ของ Dr. Edward Deming เข้าไปด้วย

อา..มิตรรักนักอ่านที่เคารพอ่านแล้วอาจจะงงงวยกับศัพท์แสงที่ไม่คุ้น ไว้ว่างๆ นัทสิมาจะมารับใช้ในแต่ละประเด็นนะขอรับ (สำนวนคุณนิติภูมิ)

จบเรื่องเรื่อยเปื่อยแต่เพียงเท่านี้

Comments:
สำหรับทางฝั่งบริหารแล้ว ผมเองก็ไม่ทราบเท่าไรนักว่าคณิตศาสตร์มันขยายพรหมแดนไปในเรื่องอะไร ขนาดไหนแล้ว

แต่สำหรับทาง ศศ นั้น ผมเชื่อบทบทหนึ่งที่แข็งหขันก็คือการใช้คณิตศาสตร์สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆอย่างแข็งขัน

แต่สำหรับในฝั่งบริหารนี่ก็อยากรู้เหมือนกันนะว่าจะเอาคณิตศาสตร์มาเล่นแร่แปรธาตุแบบไหนมั่ง

เคยไปแอบดูบางโปรแกรมในมหาลัยวิทยาลัยต่างประเทศมีแบบที่เรียกว่า decision sciences ไม่ทราบว่าเค้าร่ำเรียนอะไรกันเหมือนกัน แต่ดูเหมือนว่า จะเกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการเยอะเหมือนกัน

ถ้าหากอาจารย์นัทซิม่าเคยเรียน หรือทราบก็ up blog มาเลย อยากเพิ่มหยักมาๆ
 
เป็นเรื่องเรื่อยเปื่อยที่หนักจริง ๆ ครับ

หากเกรงใจคนอ่านเรื่อง เนื้อหา ว่าจะต้องมีข้อมูลรองรับ
ไม่ลองเปิดอีกบล๊อก เลยหล่ะครับ
อันนึงเป็น เรื่อยเปื่อย อีกอันเป็นวิชาการ

ผมเคยแนะนำรุ่นพี่อยู่คนนึง
เขาแยกออกมาเป็น สี่บล็อก
- ภาษาอังกฤษ
- วิชาการภาษาไทย
- การเมือง สังคม เศรษฐกิจ
- หนังโป้
แน่นอนว่าเขาอัพบล๊อกสุดท้าย มากที่สุด

ด้วยความเคารพ
ยังติดตามเรื่อง HR อยู่อย่างใจจดใจจ่อ
 
พี่น้องครับ..

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม
สำหรับ epsie ที่แม้จะถ่อมตัวว่าไม่ค่อยอัพ Blog แต่ความถี่ก็ยังมากกว่านัทสิมาอ่ะนะ

สำหรับหนังสือที่ขอมา นัทสิมาจัดให้ ลองไปแอบๆ ถามที่หลักสูตร MBA ดูจะเห็นว่ามีวิชาหนึ่งเป็นวิชาบังคับ ชื่อ Quantitative Analysis for Business

ว่างๆ ก็ลองพลิกดูได้ ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามมานะจ๊ะนักเรียน

สำหรับคุณ Gelgloog หวังว่าคงได้เจอป้า epsie ตัวเป็นๆ ที่งานนะครับ

เรื่อง Decision Science นั้นก็มีบางมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เปิดเป็นภาควิชาอย่างจริงๆจังๆ

ที่ดังๆ ก็ MIT (Sloan) แต่โดยมากจะเป็นกลุ่มวิชาหนึ่งในภาควิชา Opeartion Management หรือ Operation Research ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาการด้านบริหารจัดการในยุดแรกๆ
(บิดาของการจัดการด้านวิทยาศาสตร์ เป็นวิศวกรที่มีชื่อว่า Federick W. Taylor)

ถ้าสนใจก็ลองหาหนังสือแบบที่แนะนำให้ป้า epsie ไปแล้วข้างต้นมาอ่านก็ได้นะครับ

สำหรับคุณปริญญาใจ
โปรดบอก URL ของบล๊อกที่ว่ามาพลัน !
(แซวเล่นครับ...)
 
Post a Comment



<< Home

This page is powered by Blogger. Isn't yours?