Thursday, August 31, 2006

 

8 เทคนิคในการเตรียมตัวก่อนเข้าคลาสฝึกอบรม

(หมายเหตุ : ช่วงนี้นัทสิมาอ่าน CLEO และ COSMOPOLITAN มากไปนิด เลยอยากลองเขียน How to สไตล์สาวคอสโมดูบ้าง)

--------------------------------------------------------------------------------------------------

คนที่เคยผ่านการฝึกอบรมสัมมนามาบ้างคงจะพอรู้สึกได้ว่าการอบรมบางหลักสูตรก็ช่วยเปิดมุมมองและโลกทัศน์ของเราอย่างมาก แต่บางหลักสูตรก็ออกจะน่าเบื่อจนอยากจะลุกหนีออกจากห้องเรียนให้รู้แล้วรู้รอดไป แน่นอนว่าในฐานะของผู้เข้าอบรม (ทั้งที่โดนบังคับและสมัครใจ) สิ่งที่สำคัญที่สุดนอกเหนือไปจาก “ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ” นั่นคือ เราได้อะไรมากน้อยแค่ไหนจากการอบรมในแต่ละครั้ง?

การจะได้ “อะไร” มากหรือน้อยในแต่ละครั้งที่เราเข้ารับการอบรมนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของหลักสูตรหรือความสามารถในการถ่ายทอดของวิทยากรแล้ว ผู้เข้าอบรมเองก็มีส่วนทำให้ปริมาณและคุณภาพของความรู้ที่ได้รับจากห้องเรียนเพิ่มมากขึ้นได้ อยู่ที่ว่าเราจะมองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฝึกอบรมนั้นหรือไม่? และหากเราต้องการได้รับสิ่งที่วิทยากรถ่ายทอดให้มากขึ้นแบบทวีคูณแล้วล่ะก็...นี่คือสิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมพึงกระทำ

1. ตั้งเป้าหมายในใจ : ลองคิดดูว่าหลังจากจบหลักสูตรนี้ไปแล้ว..ฉันจะต้องรู้อะไร? ฉันจะทำอะไรได้เพิ่มขึ้น? ทางที่ดีควรจะลองกำหนดเป้าหมายไว้สัก 3-6 ข้อ

2. เตรียมคำถามล่วงหน้า : พิจารณาจากหัวข้อหลักสูตรแล้ว ลองตั้งคำถามประมาณ 10-15 ข้อ อาจจะใช้หลัก 5W 1H เช่น ทำไมต้องเรียนหลักสูตรนี้? หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับใช้เมื่อใด? และอื่นๆ อีกมากมาย

3. สร้างมิตรภาพ : รู้จักเพื่อนร่วมชั้นเอาไว้เยอะๆ ใครจะไปรู้ว่าคนที่นั่งเรียนข้างๆ คุณในวันนี้ อาจเป็นใหญ่เป็นโต มีกิจการระดับประเทศได้ในอนาคต นอกจากนี้การเรียนรู้จากคนที่มีหน้าที่ในงานรูปแบบต่างๆ กันย่อมสร้างความแตกฉานในเนื้อหาวิชาได้มากขึ้น

4. วางแผนนำความรู้ไปใช้ : ให้สัญญากับตัวเองไปเลยว่า จะเอาความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานในด้านใด? ทำอย่างไร? และจะทำเมื่อไหร่? นี่เป็นทางหนึ่งที่จะให้คุณเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการที่คุณอุตสาห์สละเวลามานั่งเรียน

5. มีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน : ไม่เข้าใจตรงไหนก็ยกมือถามจากวิทยากร หรือขอความเห็นจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน การแลกเปลี่ยนเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นการที่คุณเอาตัวไปพัวพันและเอาจิตใจไปจดจ่อกับเนื้อหาอยู่ตลอดเวลายังจะช่วยให้คุณไม่พลาดทุกรายละเอียดของเนื้อหาวิชาอีกต่างหาก

6. สร้างความสัมพันธ์กับวิทยากร : ไม่ได้หมายถึงการชวนวิทยากรไปปาร์ตี้หลังจบคลาส หรือนัดกันไปดูหนังในวันหยุดสุดสัปดาห์ ความสัมพันธ์ในที่นี้หมายถึงการที่คุณได้พูดคุยเป็นการส่วนตัวหรือแนะนำตัวอย่างเป็นทางการกับวิทยากร เผื่อว่าในอนาคตหากคุณมีคำถามที่ต้องการคำตอบในเรื่องนั้นๆ อย่างน้อยก็ยังพอจะมีผู้รู้ไว้ให้คอยปรีกษา

7. มีศิลปะในการจดบันทึก : การจดบันทึกที่ดีไม่ได้หมายถึงการจดทุกคำพูดหรือทุกประโยคของวิทยากร (บางคนจดแม้กระทั่งมุขตลกที่วิทยากรพูด!) แต่หมายถึงการจดในประเด็นที่สำคัญอย่างชัดเจน เน้น..จดให้ชัดเจนและให้มั่นใจว่าเมื่อเวลาผ่านไปคุณยังสามารถกลับมาอ่านสิ่งที่คุณบันทึกไว้ได้โดยไม่ต้องพึ่งนักแกะอักขระโบราณจากที่ไหนๆ!

8. มีความสุขกับการเรียน : ไม่ว่าคุณจะโดนบังคับข่มขืนใจให้มาเรียน หรือจำเป็นต้องมาด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้คุณไม่สบายใจ ก่อนเริ่มการเรียนการสอน...ลืมมันซะ ทำใจให้สนุกกับการเรียน แล้วคุณจะพบว่าคุณได้อะไรมากกว่าที่คุณคิดไว้

(Reference: IRCA-UK :Introduction session of Lead Assessor Course's delegate notes, 1999)

Wednesday, August 23, 2006

 

natsima in "ก่งก๊ง" mode

หลังจากดองงานวิจัยมาจนเค็มได้ที่ Natsima ก็ได้ฤกษ์สอบซะที

11 September 2006

อ๊ะ..911

อ๊ะ..

อ่ะ

อะ

(หมุนตัวแล้วค่อยๆ fade ออกไป...)

This page is powered by Blogger. Isn't yours?