Monday, November 13, 2006

 

ข่าวลือ




สัปดาห์ก่อน นัทสิมาได้รับ e-mail จากเจ้านาย ความตอนหนึ่งว่า




"..ผมได้ยินข่าวลือมาว่าคุณมีแผนที่จะลาออก.."




อืมม..นะ


เอาเป็นว่านัทสิมาจะลาออกหรือไม่นั้นคงไม่ใช่ประเด็น




ประเด็นคือ.. Management by rumors เนี่ยมันออกจะเกินไปหน่อย




----------------------------------------------------




อันที่จริงอานุภาพของ "ข่าวลือ" นั้นได้รับการรับรองผลมาแล้วจากหลายสถาบัน




ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น "ข่าวลือ" ถือเป็นอาวุธที่สมบูรณ์แบบในการทำลายขวัญและกำลังใจฝ่ายตรงข้าม รวมถึงสร้างขวัญและกำลังใจของฝ่ายตนเองด้วยในทางกลับกัน อาจเป็นเพราะข่าวลือนั้นหาต้นตอและที่มาที่ไปได้ยาก อีกทั้งยังแพร่ลามได้เร็วราวกับไฟลามทุ่ง




ว่ากันว่า ไม่มีใครในโลกที่จะไม่หยุดเงี่ยหูฟังในสิ่งที่ "เค้าว่ากันว่า..." เป็นข้อมูลจาก "คนวงใน"




รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นถึงกับต้องออกโปสเตอร์ออกมาเตือนประชาชนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของข่าวลือ





โปสเตอร์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่ออกมาเตือนประชาชน

(ภาพจาก http://www.psywar.org/sibs.php)


ทางฝั่งเยอรมันเองก็มีโปสเตอร์ที่ออกมาแสดง "อานุภาพ" ของข่าวลือด้วยเช่นกัน โดยในภาพแสดงถึงความรวดเร็วในการแพร่กระจายของข่าวลือในเวลาเพียงแค่ 90 นาที

German Volk are warned about the dangers of the "latrine rumour"

(Courtesy of Dr. Klaus Kirchner)

การใช้ข่าวลือในสงครามโลกครั้งที่สองเป็นไปอย่าง "จริงจัง" อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะทางฝั่งสหราชอาณาจักรถึงกับจัดตั้งหน่วยงานที่มีชื่อว่า "UPC" หรือ Underground Propaganda Committtee เพื่อสร้างข่าวลือโจมตีเยอรมันเต็มที่ โดยข่าวลือที่หน่วย UPC สร้างขึ้นจะถูกเรียกว่า "ซิบส์" (Sibs) ซึ่งมาจากภาษาละตินคำว่า sibilare


------------------------------------------------------

จากปี 1940 ถึง 2006 (ปัจจุบัน) "ข่าวลือ" ยังคงความเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพเช่นเดิม

เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ที่เกิดขึ้นในรูปแบบเดิมๆ คือมีการชุมนุมของเด็กและผู้หญิงเพื่อต่อต้าน (บางครั้งถึงขึ้นลงไม้ลงมือ) เจ้าหน้าที่รัฐ ล้วนมาจากยุทธการสร้างข่าวลืออย่างเป็นระบบ

คำถามคือ...เหตุใดผู้ชุมนุมเหล่านั้นจึง "เชื่อ" ในข่าวลือที่ได้รับ? (ไม่ได้เชื่อแต่เพียงอย่างเดียว..ยังมีการสนองตอบต่อข่าวลืออย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย)

นัทสิมาเคยเชื่อว่า ระดับการศึกษาอาจมีผลต่อการรับรู้และการสนองตอบต่อข่าวลือ

แต่แล้วความเชื่อนั้นก็พังทลายลงจากการแพร่กระจายของข้อเขียนที่มีชื่อว่า "36 แผนที่ชีวิตพ่อ" (รายละเอียดโปรดศึกษาได้จาก blog ของคุณบุญชิต ฟักมี)

...ไม่ว่าจะเป็นใคร

...ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน

...ข่าวลือก็ยังคงมีอานุภาพเสมอ

--------------------------------------

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

1. ข่าวลือ อาจแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า rumor, gossip และ propaganda ซึ่งจริงๆ แล้วต่างกัน กล่าวคือ rumor นั้นอาจเป็นเรื่องเล็กๆ ได้จนถึงเรื่องใหญ่ๆ แต่ propaganda นั้นมักจะเป็นข่าวลือชนิดที่ถูกบรรจงสร้างขึ้นเพื่อหวังผลทางใดทางหนึ่ง ส่วน gossip นั้นถือเป็นช่องทางหนึ่งในการกระจายข่าวลือ

2. ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา (บางรัฐ) ได้มีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมข่าวลือ (Rumors Control Center) ขึ้นเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการแพร่กระจายของข่าวลือที่มีผลกระทบต่อประชากรในรัฐนั้นๆ เช่น ข่าวลือเรื่องการก่อการร้าย, ภัยธรรมชาติ,โรคระบาด โดยศูนย์ควบคุมข่าวลือในปัจจุบันมีทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ที่มุ่งไปยังการแพร่กระจายของข่าวลือทางช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต อีเมล์ หรือ Instant Message

-----------------------------------------------------

Reference :

1. www.wikipedia.org

2. http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=boonchit&date=24-10-2005&group=4&blog=1

3. http://www.psywar.org/sibs.php


Comments:
อันตรายจริงๆนะเนี่ย

อืม....พอดีได้ข่าวมาว่าอาจารย์นัทซิมา จะปิดบอลค นี่ข่าวลือ หรือเรื่องจริง วานบอก 5555

ล้อเล้นน่ะครับ
 
Post a Comment



<< Home

This page is powered by Blogger. Isn't yours?