Sunday, January 15, 2006

 

สถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบัน (ตอนที่ 1)

ข้อมูลต่างๆ ต่อไปนี้เป็นข้อมูลจากประสบการณ์ตรงครับ ทั้งที่เคยทำงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจากการพูดคุยกับผู้บริหาร (โดยเฉพาะผู้บริหารฝ่ายบุคคล)ในองค์กรต่างๆ

แรงงานไร้ฝีมือขาดแคลน

เชื่อไหมครับว่าเงินเดือนเริ่มต้นของพนักงานปฏิบัติการ (จบ ม.3 ขึ้นไป) ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์แห่งหนึ่งในอยุธยาอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่บัณฑิตคณะเกษตรศาสตร์ที่เข้าไปทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตของโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์อยู่ที่ประมาณ 8,500 บาท!

แรงงานไร้ฝีมือ หรือ Unskilled Labor กำลังขาดแคลนอย่างหนักจริงๆ ครับ

สมรภูมิการแย่งชิงคนงานในปัจจุบันจึงดุเดือดเลือดพล่านอย่างที่สุด โรงงานไหนที่พอจะมีกำลังจ่ายค่าจ้างเงินเดือนที่ "แพง" กว่าชาวบ้านก็จะเป็นแหล่งดึงดูดแรงงานเหล่านี้ไม่ให้หนีหายไปไหน

โรงงานไหนที่ "จ่าย" ไม่งาม ไม่มีการทำงานล่วงเวลา ไม่มีค่าจ้างล่วงเวลา ทำงานหนักกว่าที่อื่น (ในความรู้สึกของหนุ่มสาวโรงงาน) ก็จะเป็นเพียงที่พักใจชั่วคราว แรงงานเหล่านี้พร้อมจะโบยบินจากไปในทันที หากเขาหรือเธอได้งานใหม่ที่ "เชื่อ" ว่าได้เงินดีกว่า

อย่าลืมว่า "เงิน" กับ "ค่าตอบแทน" นั้นไม่เหมือนกันนะครับ เพราะ "ค่าตอบแทนที่ไม่อยู่ในรูปของตัวเงิน" เช่น สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ เหล่านี้ก็มีอยู่ในเงื่อนไข หากแต่แรงงานในระดับไร้ฝีมือนั้นไม่ได้คิดถึงเรื่องเหล่านี้

การโยกย้าย การสับเปลี่ยน การหมุนเวียนแรงงานจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ

โรงงานที่เนื้อหอมที่สุดในตอนนี้จะเป็นโรงงานในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ครับ

ด้วยเหตุที่มีอัตราการเติบโตสูง ความสามารถในการจ่ายค่าจ้างจึงสูง ประกอบกับยอดการผลิตที่สูงขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการจ้างล่วงเวลามากเช่นกัน

อุตสาหกรรมที่บอบช้ำที่สุดในเรื่องแรงงานก็จะเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม
ประเด็นที่สำคัญคืออุตสาหกรรมประเภทนี้มีผลกำไรค่อนข้างต่ำอยู่แล้วเพราะหากตั้งราคาขายสูงเกินไปก็จะไม่สามารถสู้สินค้าจากจีนได้ รวมถึงธรรมชาติของกระบวนการผลิตที่เป็นกระบวนการแบบ "เน้นการใช้แรงงาน" (Labor Intensive) ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่ของการผลิตก็จะมาจากค่าจ้างแรงงานนั่นเอง

หากค่าจ้างแรงงานสูง ต้นทุนก็จะสูง

และเมื่อต้นทุนสูง ในขณะที่ราคาขายไม่สามารถตั้งให้สูงได้.....ก็ไม่มีกำไร

ประหนึ่งเคราะห์ซ้ำกรรมซัด...ในอุตสาหกรรมสิ่งทอเองนั้นก็ได้รับผลกระทบจากกลยุทธ์การกีดกันทางการค้าแบบไม่ใช้ภาษี (Non-Tariff Bariier Strategies) ของกลุ่มทุนเจ้าของแบรนด์ในอเมริกาที่ตั้งใจจะ "ดัดหลัง" แหล่งแรงงานราคาถูกอย่างประเทศจีนเป็นหลัก

สิ่งที่มากระทบอย่างจัง..คือการบังคับให้โรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มที่ส่งให้แบรนด์ชั้นนำอย่าง Disney หรือ Gap ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานหรือ SA8000 (Social Accountability Management System)

...และข้อกำหนดหนึ่งของ SA 8000 คือการ "จำกัด" ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาของพนักงาน

ค่าจ้างต่ำ งานหนัก (ประณีต,ใช้ฝีมือมาก) ไม่มีล่วงเวลา.......แรงงานไร้ฝีมือจึงไหลออกไปสู่อุตสาหกรรม"ดาวรุ่ง" หมด

คำถามท้ายบท : เราจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร?

(ตอนต่อไป สถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบันตอนที่ 2 มาดูทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ผู้บริหารแต่ละที่มีทางออกอย่างไรกับปัญหานี้ โปรดติดตามครับ)

Comments:
ขอบอกว่าผมเองก็พึ่งรู้นะเนี่ย

น่าสนใจดีเหมือนกันแฮะ ระดับปฏิบัติการเงินเดือนหมื่นนึง แต่คนควบคุมเงินเดือนแปดพัน

แต่มีประเด็นที่ผมสงสัยหน่อยนึงอะนะ

การเคลื่อนย้ายแรงงานมันเป็นไปอย่างไร้พันธการขนาดนั้นเลยหรือครับ มันไม่มี contract หรืออะไรก็ตามทีที่มันจะมาขัดขวางกระบวนการ turn over เลยรึไง เป็นข้อสงสัยของผมเฉยๆนะ

อย่างไรก็ตาม เป็นข้อน่าสังเกตุที่น่าสนใจดีนะครับ ส่วนคำถามที่ทิ้งท้ายเอาไว้ ขอเอาขบก่อนละกานนะท่าน

เกินปัญญาจริงๆ 55555
 
นักเรียนห้องนี้ดื้อจัง...

สำหรับเรื่อง Contract นั้นไปผูกมัดไม่ได้ครับ จะผิดกฏหมายแรงงานเอา กำหนดได้เพียงว่าหากจะลาออกต้องแจ้งล่วงหน้าเดือนนึงหรือเท่าไหร่ก็ว่ากันไป

แต่ถ้ายังอยู่ในช่วงทดลองงาน..อยากออกก็ออกได้ทันทีเลยทีเดียวเชียว
 
อ่อ

ขอบคุณท่านอาจารย์ natsima ที่ช่วยชี้แจงแถลงไข เพราะผมเองก็นะ....เกิดมายังไม่เคยทำงานเลยอ้ะ รู้เรื่องแบบนี้น้อยมาก ได้มาอ่านก็ดีแฮะ เปิดมุมมองใหม่ๆดี

ที่คุณ epsilon พูดมานี่ก็น่าสนใจนะ บางทีไอ้เรื่องค่านิยมอะไรนี่มันก็ทำให้ สิ่งต่างๆในสังคมบิดเบือนไป และปัญหาในแง่ค่านิยมดังกล่าวที่คุณว่ามา ก็คงแก้ไม่ได้ในระยะสั้นๆอ่านะ มันเป็นเรื่องที่มีกระบวนการสั่งสมมายาวนานเหมือนกัน (ไม่รู้ใครมันเป็นคนเริ่มวะ 55)

ไหนๆแล้วก็ขอต่อในประเด็นนี้ไปเลยละกัน

สำหรับผมเอง การศึกษามันก็สำคัญนะ แต่ที่สำคัญกว่าก็น่าจะเป็นการจัดการกับระบบการให้คุณค่าให้มันดูแบบ เอ่อ แบบ..ไม่ใช่อย่างทุกวันนี้อะนะ

บ้านเราเมืองเรานี่หายห่วง ไหนเลยจะแบ่งการศึกษาสายสามัญ/สายอาชีวะ ซึ่งก็ให้คุณค่าไม่เท่ากัน ม.รัฐ/ม.เอกชน เอ้อ ม.รัฐก็แบ่งไปอีก เป็น ม.รัฐ/ราชภัฏ ม.เอกชนก็แบ่งไปอีก เป็นเกรดสองเกรดสาม อะไรก็ว่าไป เอ้อ สนุกสนานฉิบหาย จริงๆคิดว่ามีอีกนะ ใครว่างๆก็ลองไปคิดเล่นๆดูได้นะท่าน

ลักษณะเท่ๆของสังคมสมัยใหม่ก็คือมันชอบที่จะสร้างคู่ตรงข้ามขึ้นมาครับ และแน่นอน เราก็มักจะให้คุณค่ากับไอ้ที่อยู่อันแรกมากกว่า และผลที่ตามมาก็สนุกสนานไม่แพ้กันดังที่คุณ natsima ได้อรรถาธิบายมา

แต่ว่า เราจะแก้ยังไงหละวะเนี่ย?? ในเมื่อระบบการให้คุณค่าในแบบกระแสหลักยังเป็นเยี่ยงนี้ แล้วถ้า ไม่แก้ที่นี่จะแก้ที่ไหนดี แน่นอนผมคงไม่ได้มา claim ว่าปัญหาทั้งมวลมันเกิดขึ้นจากเรื่องคุณค่า แต่คงเพิกเฉยไม่ได้นะนั่น

ที่เหลือ ก็รอฟังเฉลยของ อาจารย์ละกัน (ไปๆมาๆ สุดท้ายก็ตอบคำถามหอกอะไรไม่ได้เลย 555)
 
Hint: Invisible hand, Game Theory
 
จริงๆ ผมก็หวังให้คุณ epsie กะคุณ gelgloog ลองเอาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ลองจับดูเหมือนกันแหละครับ (ว่ากันว่าเรื่องทุกเรื่องในโลกอธิบายได้ด้วยเศรษฐศาสตร์นิ?)

อยากเห็นนะเนี่ย..เลย save เฉลยเป็น Draft เอาไว้ก่อน
 
บังเอิญหลุดเข้ามาอ่านครับ
แม้คนละวงการ แต่น่าสนใจจริง ๆ ครับผม

มันเกี่ยวกับกระแสคลื่นถาโถมของเอฟทีเอหรือเปล่าครับ

สินค้าจีน อย่างถูก ผลิตจากแรงงานไร้ฝีมือทางโน้น ล่องน้ำโขงมา ไม่ติดแก่ง (เพราะระเบิดไปแล้ว) ไม่มีแก่งภาษีอีก ธุรกิจไทยในสินค้าที่เปิด ก็ตายไป
เราเอาอุตสาหกรรมบางประเภทไปแลก เช่นอะไหล่ยนต์ ทำให้พวกนี้เป็นดาวเด่นขึ้นมา การดึงแรงงานก็เกิดขึ้น
หากมองดีมานซับพลายแล้ว ประเทศไทยจะตายในไม่ช้า
เราไปตีตลาดเทคโนโลยีสูงอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีไม่ได้
ราคาแรงงานเพื่อผลิตสินค้าเทคโนโลยีต่ำ ก็สุ้ราคาจีนไม่ได้
เราจะแบนแต๋ อยู่ตรงกลางของแรงบีบนี้

พวกกลุ่มคนไทย(บางตระกูล) ได้ประโยชน์จาก เอฟทีเอ ยิ้มหน้าชื่นตาบาน ทุกข์ใจเพราะเงินไม่มีที่เก็บ

หากมองทางต้นทุนสังคม (ไม่นับปัญหาคนต่างด้าวอีกยืดยาวนะครับ)
จริงอยู่แรงงานไร้ฝีมือเหล่านั้น ได้เงินดีในช่วงนี้
วันหนึ่งเมื่อจีนตามเทคโนโลยีเราทัน (ซึ่งผมมองว่า เขาหายใจรดต้นคอเราแล้ว จากการที่เห็น นักศึกษาจีนมาเรียนต่างประเทศมากมาย) อุตสาหกรรมดาวรุ่งเหล่านี้จะเป็นดาวร่วง
แล้วแรงงานเหล่านั้นจะไปไหน?
ไม่รวมถึงการไม่มีการศึกษา เพราะออกมาใช้แรงงานเร็วไป...
ไม่รวมถึงได้เงินมาก กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ฟุ้งเฟ้อ และจมไม่ลง...
...ฯลฯ
ปัญหาอะไรจะตามมาเนี่ยครับ?
ผมคิดฟุ้งซ่านไปหรือเปล่าเนี่ย?
 
ยินดีที่ได้รู้จักครับคุณ PariNYa ทรรศนะของคุณ pariNYa น่าสนใจครับ


โปรดติดตามตอนต่อไปของเรื่องนี้ครับ

ขอเวลา Up แป๊บ...นึง
 
ขอบคุณมาก ๆ นะครับ จะติดตามตอนต่อไป
 
Post a Comment



<< Home

This page is powered by Blogger. Isn't yours?